1635206 การจัดการข้อมูลและศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น
Information Management and Local Information Centers
3(2-2)

ผู้สอน : รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กรุงเทพมหานคร

chumpot@hotmail.com

สภาพการวิจัยความต้องการในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น

จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของกลุ่มแกนระดับตำบล สรุปผลการพัฒนารูปแบบแนวความคิดของศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จ ของตำบลในระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2543 ณ โรงแรมรอแยลซิตี้ กรุงเทพมมหานคร โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้แทนจากจังหวัดที่เป็น แม่ข่ายของศูนย์การเรียนรู้ (RLN) 13 จังหวัด ดำเนินการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือ ทำการประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows นำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณา (Descriptive analysis) วิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standardiviation) ในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
    1. อาคารดำเนินการของศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล
    2. กลุ่มแกนของศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล
    3. รูปแบบการนำเสนอข้อมูลในศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล
    4. การใช้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล
    5. ผลการดำเนินงานศูนย์ข้อมูล นับตั้งแต่วันเริ่มต้นถึงปัจจุบัน
    6. แผนการดำเนินงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จ
    7. การดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จ

สภาพการจัดทำกลุ่มข้อมูลพบว่า ศุนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบลจัดทำข้อมูลหลักด้านต่างๆ ดังนี้ คือ
    1. ด้านข้อมูลทั่วไป มีการนำเสนอแผนที่ตำบล ปัญหาความต้องการต่างๆในตำบล
    2. ด้านเศรษฐกิจ มีการนำเสนอข้อมูลการเกษตร พืช อาชีพในตำบล กลุ่มอาชีพและการตลาด
    3. ด้านสังคม มีข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มต่างๆในสังคม เช่น กลุ่มอาสาสมัคร และ กลุ่มออมทรัพย์
    4. ด้านการศึกษา มีข้อมูลจำนวนโรงเรียน นักเรียน ครู และข่าวสารการศึกษา
    5. ด้านสาธารณสุข มีข้อมูลโรค โรคระบาด ยาเสพติด การนวดแผนโบราณ สวนสมุนไพร ข้อมูลสาธารณสุขอื่นๆ เช่น การอนามัย ทะเบียนเกิด ตาย
    6. ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณี มีข้อมูลงานประเพณีของท้องถิ่น การทำบุญและเผยแพร่ศาสนา
    7. ด้านภูมิปัญญา มีรายชื่อผู้นำภูมิปัญญาด้านอาชีพ โบราณวัตถุ วัฒนธรรมของตำบล สิ่งประดิษฐ์ และ ภูมิปัญญาเฉพาะกิจ (หมอตำแย หมอดู)
    8. ด้านสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลป่าไม้ ดิน แหล่งน้ำ การใช้ปุ๋ย การท่องเที่ยวในตำบล
    9. ด้านการเมือง การปกครอง มีรายชื่อผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำการบริหารของตำบล รายชื่อผู้มีสิทธิอเลือกตั้ง ข่าวสารทั่วไปด้านการเมือง รัฐธรรมนูญ หลักการประชาธิปไตย
    10. ด้านการวางแผนและโครงการ มีแผนปฏิบัติการต่างๆของตำบล ข้อมูลจปฐ ข้อมูล กชช. 2ค
    11. ด้านอื่นๆ มีข้อมูลการท่องเที่ยวในตำบลและนอกตำบล และ ข่าวสารประจำวัน

การนำเสนอข้อมูลที่ได้จัดทำ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้เอกสาร แผนภาพ คอมพิวเตอร์ คน และ หอกระจายข่าว

ด้านการใช้บริการศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล พบว่า ผู้มาใช้บริการมีหลากหลาย เช่น ประชาชน กลุ่มองค์กร และ ส่วนราชการต่างๆ

เอกสารอ้างอิง

    สภาสถาบันราชภัฏ,สำนักงาน กรมการปกครอง และ กรมการพัฒนาชุมชน.
      2543. รูปแบบของศูนย์ข้อมูลข่าวสารแบบเบ็ดเสร็จของตำบล. กรุงเทพ
      มหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.หน้า 91-103.


หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 14 มิถุนายน 2550
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com