1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

หน้าที่ของห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชนสมัยใหม่ มีหน้าที่ในการรวบรวม วัสดุสิ่งตีพิมพ์ และ อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ เพื่อให้บริการแก่ ประชาชน ดำเนินการ และ จัดหาทรัพยากรห้องสมุด เพื่อใช้ประโยชน์ให้ง่ายที่สุด หาวิธีการที่จะชี้แนะในการใช้ทรัพยากร ห้องสมุด เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (American Library Association 1966 : 8) ตามคำประกาศ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัมนธรรมแห่งสหประชาชาตินั้น ได้กำหนดหน้าที่ (ความสำคัญ) ของห้องสมุดสมัยใหม่ เป็นสองลักษณะ คือ หน้าที่ในการรวบรวม หนังสือและวัสดุต่าง ๆ และหน้าที่ในการให้บริการ

สุพรรณี วราทร(2523 : 13) ได้อธิบายหน้าที่ทั้งสองประการดังต่อไปนี้ หน้าที่ในการรวบรวมหนังสือและ วัสดุต่าง ๆ ได้แก่ หน้าที่ในการรวบวมหนังสือ สิ่งพิมพ์ และวัสดุการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้พัฒนาขึ้น ตามความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการ หน้าที่ในการให้บริการ ห้องสมุดประชาชนมีขอบเขตการบริการ แก่สมาชิกทุกคนใน ชุมชน ย่อมมีลักษณะแตกต่างและมีความต้องการต่าง ๆ กันอย่างเท่าเทียมกัน

ดังนั้น ห้องสมุดประชาชนจึงมีบริการและกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกใน การใช้หนังสือและวัสดุต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในห้องสมุด นอกจากหน้าที่ 2 ประการดังกล่าวแล้ว ห้องสมุดประชาชนยังมีบทบาทสำคัญใน การทำหน้าที่อื่น ๆ อีก ได้แก่ หน้าที่ด้านการศึกษา หน้าที่ด้านวัฒนธรรม และหน้าที่ด้านสังคม

หน้าที่ด้านวัฒนธรรม หมายถึง การเป็น "ศูนย์วัฒนธรรม" ด้วยการเผยแพร่ความรู้ ความคิด และข่าวสารต่าง ๆ ตลอดจนการให้โอกาสแก่ประชาชนในการพักผ่อนหย่อนใจ และ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

หน้าที่ด้านสังคม เนื่องจากห้องสมุดประชาชนเป็นสถาบันสังคม ได้รับการอุดหนุน ทางการเงินส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจากหน่วยงานแห่งสังคม จึงทำหน้าที่ให้บริการแก่ชุมชมในงาน ข่าวสารด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่เรื่อการงาน อาชีพ การปกครอง เหตุการณ์บ้านเมืองไปจนถึงเรื่องเศรษฐกิจ กฎหมาย และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ

จึงพอสรุปหน้าที่สำคัญของห้องสมุดประชาชน (American Library Association 1972 : 20) ในปัจจุบันว่า ควรจะเป็นดังนี้ คือ
    1. เพื่อสนับสนุนการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนกระทั่งระดับมหาวิทยาลัย และใน โรงเรียนวิชาชีพต่าง ๆ
    2. เพื่อสนับสนุนการทำงานตามนโยบายของรัฐบาล และเศรษฐกิจของประเทศ
    3. เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนในการศึกษาด้วยตนเอง
    4. เพื่อเป็นแหล่งรวมที่สำคัญของสังคม
    5. เพื่อจัดหาทรัพยากรให้แก่ประชาชนเพื่อแจ้งข่าวสารวัฒนธรรม และความเจริญ งอกงามทางสติปัญญา

หน้าที่ของห้องสมุดประชาชนตามที่กล่าวมาข้างต้น ประเทศต่าง ๆ มักกำหนดไว้ใน กฏหมายห้องสมุด หรือระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประชาชนจะ สามารถปฎิบัติได้ตามวัตถุประสงค์และหน้าที่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ ในการดำเนิน งานของห้องสมุดประชาชนนั้น ๆ

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com