1633405 ห้องสมุดประชาชน
Public Library

2 (2 - 0)

ผู้สอน : รศ จุมพจน์ วนิชกุล
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
อ. เมือง กาญจนบุรี 71000
chumpot@hotmail.com

ความหมายของห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชนมีความหมายแตกต่างกันไปในละประเทศ คำว่า ห้องสมุดประชาชน เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ ก่อนหน้านี้อาจจะใช้คำอื่น เช่น ห้องสมุด หรือ หอไตร แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจ และรู้จักกันโดยทั่วไป คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V. Good) (1973 : 399) ได้ให้ความหมายของห้องสมุดประชาชนว่า

"ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่ให้บริการ แก่ผู้ที่อาศัย อยู่ในชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง หรือเขตใดเขตหนึ่ง และได้รับความสนับสนุน ทางการเงินบางส่วน หรือทั้งหมด จากเงินของประชาชน"

วิลเลียม เฟรเดอริค พูล (William F.Poole )(1876 : 477)บรรณารักษ์ ของห้องสมุดประชาชนชิคาโก ได้ให้ความหมาย ของห้องสมุดประชาชน เมื่อร้อยปีกว่ามาแล้วว่า ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น โดยกฏหมายของรัฐ ได้รับการสนับสนุน การเงินจากภาษีท้องถิ่น หรือ จากการบริจาค ดำเนินการบริหารงาน โดยประชาชน ประชาชน ทุกคนมีสิทธิ ร่วมกัน ในการอ่าน และการใช้บริการ"

เลียวนาร์ด มอนดากู ฮาร์รอด (Leonard Montague Harrod) (1977 : 673) ได้ให้ความหมายว่า "ห้องสมุดประชาชน คือห้องสมุด ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นทั้งหมด หรือ บางส่วน จากเงินของประชาชน การเข้าใช้บริการไม่จำกัด ในเรื่องของ ฐานะบุคคล ให้บริการฟรีแก่ผู้ใช้ มีหน้าที่ให้การศึกษาผู้ใหญ่ ตลอดจน ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ แก่เด็ก เพื่อความเจริญงอกงาม ทางสติปัญญา ในอนาคต"

Technical Dictionary of Librarianship (1964 : 336) ให้ ความหมาย ของห้องสมุดประชาชนว่า "ห้องสมุดประชาชน เป็นห้องสมุดที่เปิดบริการแก่ บุคคลทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับการ สนับสนุน และควบคุมโดยประชาชน"

สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (Young 1983 : 181) สรุปว่า ห้องสมุดประชาชนคือ ห้องสมุดซึ่งให้บริการทั่วๆ ไปฟรีแก่ประชาชนในท้องถิ่น ในอำเภอ หรือภูมิภาค ได้รับ การสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลหรือจากประชาชน ห้องสมุดประชาชน รวบรวมวัสดุห้องสมุด ส่วนใหญ่ให้บริการฟรีแก่คนในท้องถิ่น แต่อาจคิดค่าบริการ จากคนนอกท้องถิ่น

จึงพอสรุปได้ว่า ห้องสมุดประชาชน คือ ห้องสมุดที่ได้รับการสนับสนุน ทางการเงิน จากรัฐบาล โดยประชาชนเป็นผู้เสียภาษีให้รัฐ เพื่อให้บำรุงห้องสมุด เปิดบริการอย่างกว้าง แก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัด เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง และความรู้ ห้องสมุดบางแห่ง ที่ไม่ได้รับความสนับสนุน ทางการเงิน จากรัฐบาล แต่เปิดบริการ แก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดมูลค่าก็ถือว่าเป็นห้องสมุดประชาชนด้วย

หน้าสารบัญ

ปรับปรุงล่าสุด วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545
รศ. จุมพจน์ วนิชกุล
chumpot@hotmail.com