1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

ระบบสารนิเทศแห่งชาติ

ระบบสารนิเทศแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า National Information Systems หมายถึงระบบ กระบวนการ และกิจกรรมในการรวบรวม จัดเก็บ จัดการ และ ระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถสนองความต้องการทั่วถึงทั้งประเทศ เพื่อ สนองประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือและ ประสานงานสารนิเทศในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับสากล ระบบสารนิเทศแห่งชาติ จะประกอบด้วยระบบย่อยหลายระบบ การกำหนดระบบการสารนิเทศแห่งชาติจะเป็น การช่วยพัฒนาสังคมข่าวสารให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

พัฒนาการของระบบสารนิเทศแห่งชาติ

หลังสงครามโลกครั้งที่2 ปริมาณของสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย การติดตามและการเข้าถึงวรรณกรรมจึงเป็นไปได้ยาก ห้องสมุดไม่สามารถรวบรวมวรรณ กรรมต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ดังนั้น ยูเนสโก ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญในการที่ต้องมีความ ร่วมมือกันจึงกระตุ้นให้รัฐสมาชิกพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมในการปรับปรุงการเข้าถึงสารนิ เทศโดยสร้างระบบสารนิเทศแห่งชาติ และสิ่งที่ต้องคำนึงก็คือ นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ ที่จะส่งเสริมเกื้อกูลการสร้างระบบสารนิเทศให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบ และวิธีการ และสามารถมีเงินเพื่อดำเนินการได้อย่างเพียงพอ และการเสนอความแนวคิดที่เกี่ยวกับ การจัดระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้มีมาในบางประเทศนานแล้ว เป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วง พ.ศ. 2509-2513 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่องค์การการศึกษาสหประชาชาติ ในลาตินอเมริกา เอเซีย อาฟริกา และกลุ่มประเทศอาหรับ ตามลำดับ ซึ่งเป็นปีหนังสือสากล ได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่องการ วางแผนบริการเอกสารจดหมายเหตุ และการวางแผน โครงสร้างการจดหมายเหตุในประเทศที่กำลังพัฒนาใน พ.ศ. 2516 ในปีเดียวกันนี้ก็ได้มีการ ประชุมผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยนโยบายและการวางแผนการเอกสาร ห้องสมุด และจดหมายเหตุ ณ กรุงปารีส ปีต่อมาคือ พ.ศ. 2517 มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยการประสานวิธีการ และหลักสูตรในการฝึกอบรมนักเอกสารสนเทศ บรรณารักษ์ และนักจดหมายเหตุ ณ กรุงปารีส การประชุมทั้งหมดนี้ เป็นผลต่อเนื่องจากความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบริการบรรณานุกรม ซึ่ง องค์การการศึกษา จัดประชุมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 ณ กรุงปารีส

องค์การการศึกษาฯ สหประชาชาติ ได้จัดการประชุมระดับโลกในปี พ.ศ. 2517 เพื่อประมวลความคิดเห็นจากการประชุม ในระดับภูมิภาค กำหนดแนวทางในการวางแผน นโยบายแผน และวิธีการในการประมวลความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ คือ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จัดทำเป็นแผนงานในระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาบริการการเอกสาร ห้องสมุด และจดหมายเหตุ ให้สามารถบูรณาการเข้า ในแผนพัฒนาของชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การสื่อสาร และ การบริการประเทศเพื่อให้บริการทั้งสามสายงาน มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศ

คำว่า ระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมระดับ โลกครั้งนี้ ที่ประชุมได้จำกัดกรอบของการพิจารณาใน 3 เรื่องใหญ่ คือ
    1. การวางแผนบูรณาการโครงสร้างการเอกสาร ห้องสมุด และจดหมายเหตุ เข้าด้วยกันในระดับชาติ
    2. การวางแผนประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อดำเนินการเอกสาร ห้องสมุด และ จดหมายเหตุ
    3. การวางแผนบุคลากรเพื่อจัดบริการเอกสาร ห้องสมุด และจดหมายเหตุ

ในการจัดบริการทั้งสามให้เป็นระบบบริการแห่งชาติ ที่ประชุมชี้ให้เห็นความ จำเป็นที่จะต้องมีจุดร่วมกัน คือ วัตถุประสงค์ นโยบาย แผน และการประสานงาน แผนจำต้องครอบคลุมสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินการให้เข้าถึงวัตถุประสงค์ คือ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับซึ่งเกื้อกูลการเงิน โครงสร้างองค์การ บุคลากร เทคโนโลยี และกลไก เพื่อการประสานงานระหว่างองค์กร ที่เกี่ยวข้องระบบย่อยภายในระบบสารนิเทศแห่งชาติ และระหว่างระบบสารนิเทศแห่งภูมิภาค และสารนิเทศสากล

ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ หลายข้อพอสรุปข้อที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ คือ
    1. วัตถุประสงค์ว่าด้วยสิ่งจำเป็นต้องมีในระบบสารนิเทศแห่งชาติ สิ่งที่จะต้องกำหนดให้มีขึ้นในระบบสารนิเทศแห่งชาติ คือ
    1.1 นโยบายแห่งชาติว่าด้วยสารนิเทศ ซึ่งสะท้อนความต้องการของประชาชน ทั้งประเทศ รวมทั้งความต้องการโดยเฉพาะ ของกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ ใช้เป็นแนวทาง ในการวางแผน และดำเนินการระบบและบริการการสารนิเทศแห่งชาติ
    1.2 การฝึกอบรมและกระตุ้นให้มีการใช้สารนิเทศที่มีอยู่ภายในระบบสารนิเทศ แห่งชาติอย่างทั่วถึง มีการฝึกสอน และอบรมการใช้ในสถานศึกษาทุกระดับ ทุกกลุ่มผู้ใช้ และผู้ซึ่งควรใช้ทรัพยากรสารนิเทศให้เป็นประโยชน์
    1.3 การสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน ห้องสมุดในสถานศึกษา ห้องสมุดประชาชน ควรร่วมกับสถานศึกษา จัดโครงการชักชวน ให้เกิดความสนใจในการอ่าน และสร้างนิสัย รักการอ่าน
    1.4 การสำรวจและประเมินความต้องการของผู้ใช้กลุ่มต่าง ๆ จำเป็นต้อง จัดให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะอันสมควร เพื่อให้แน่ใจว่า แผนงานระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้สนองความต้องการอย่างแท้จริง
    1.5 การสำรวจและวิเคราะห์สภาพของทรัพยากร (วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ฯลฯ) ทางด้านห้องสมุด การเอกสาร และจดหมายเหตุ ซึ่งจำเป็นต้องจัดทำก่อนการวางแผนพัฒนา ระบบสารนิเทศแห่งชาติ
    1.6 การสำรวจและวิเคราะห์บุคลากรด้านสารนิเทศ ซึ่งจะต้องดำเนินการ ก่อนวางแผน และเพื่อประมาณความต้องการ กำลังคนในอนาคต

2. วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการวางแผนระบบสารนิเทศแห่งชาติ

วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการวางแผนระบบสารนิเทศแห่งชาติ มีดังนี้

    2.1 ในโครงสร้างสารนิเทศแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยการห้องสมุด การ เอกสารและการจดหมายเหตุ นั้น จะต้องมีโครงสร้าง องค์กรกลางเพื่อการประสานงานให้ โครงสร้างหลักทั้งสาม ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ให้มีการใช้ทรัพยากรสารนิเทศอย่างสมบูรณ์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
    2.2 การจัดสรรบุคลากรดำเนินการสารนิเทศแห่งชาติ จัดให้มีการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ในระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษา ก่อนการปฎิบัติงานและระหว่างประจำการ พิจารณาปรับปรุงสถานภาพของบุคลากรให้มีความ ก้าวหน้ามั่นคงในสายงาน

3. วัตถุประสงค์ในการวางแผนสนองความต้องการทางเทคโนโลยี

เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารนิเทศอย่างเต็มที่ จำเป็นต้องมีการวางแผน การใช้เทคโนโลยีสารนิเทศที่เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพ และให้ได้มาตรฐานการวาง แผนด้านเทคโนโลยีต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะค่าใช้จ่ายสูง และเทคโนโลยีมี ความซับซ้อนมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีเป็นเรื่องเฉพาะ ซึ่งเปลี่ยนอยู่เสมอ จำเป็นต้อง มีการศึกษาและฝึกอบรมเฉพาะเรื่อง และให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงในการทำเทคโน โลยีมาใช้ ต้องคำนึงถึงการปรับใช้กันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์และชุดคำสั่งต่าง ๆ ต้องมี มาตรฐานและประสิทธิภาพ

4. วัตถุประสงค์ในการกำหนดกฎหมายระเบียบและข้อบังคับเพื่อสารนิเทศแห่งชาติ

กฎหมายระเบียบข้อบังคับที่เกื้อกูลระบบสารนิเทศแห่งชาติ ควรได้รับการพิจารณา กำหนดหรือปรับปรุงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ระบบสารนิเทศแห่งชาติดำเนินการได้ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับพื้นฐาน ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพขององค์กร และบุคลากร งบประมาณ สัมพันธภาพระหว่างประเทศและภายในประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยการ ส่งสิ่งพิมพ์ให้แก่รัฐ การสนับสนุนเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต้องใช้เพื่อการกระจายสารนิเทศการ ปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วย การแลกเปลี่ยนวัสดุสารนิเทศ ว่าด้วยการนำเข้า และส่งออกวัสดุสารนิเทศ โดยลดหรือปลอดภาษีศุลกากร มาตรฐานกำหนดตำแหน่งบุคลากร สารนิเทศ การรับรองปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตรจากประเทศต่าง ๆ การสงวนรักษามรดกทาง เอกสารจดหมายเหตุ การลดขั้นความลับของเอกสารจดหมายเหตุเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้

5. วัตถุประสงค์ในการกำหนดงบประมาณดำเนินการสารนิเทศแห่งชาติ

การดำเนินงานสารนิเทศแห่งชาติ ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากเพียงพอ แหล่ง งบประมาณแหล่งสำคัญ คือ งบประมาณของประเทศ ในประเทศที่กำลังพัฒนามีงบประมาณน้อย จึงควรลำดับความสำคัญของกิจกรรมและสารนิเทศสาขาวิชาที่ต้องการ หลายประเทศ ทุ่มเทงบประมาณไปในการขจัดความไม่รู้หนังสือ แต่มีงบประมาณน้อยสำหรับการให้ทรัพยากรสารนิเทศ หลังจากรู้หนังสือแล้ว การคิดงบประมาณเพื่อดำเนินการสารนิเทศแห่งชาติ ควรคิดรวมทั้งระบบ ประสานงานงบประมาณที่กระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ พยายามแสวงหาแหล่งเงินช่วยเหลือ ภายนอก เช่น องค์การพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ (The United Nation Development Programme -UNDP) หรือองค์การของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น International Development Research Center -IDRC ของรัฐบาลแคนาดา เป็นต้น

ระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้รับสนองตอบจากประเทศต่าง ๆ ในการนำมากำหนด นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ และเพิ่มความสำคัญของสารนิเทศว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมี ความจำเป็น โดยมีการจัดประชุมครั้งแรกของระบบสารนิเทศ ระหว่างประเทศเกี่ยวกับ สารนิเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งองค์การการศึกษาจัดขึ้น ณ เมือง เฮอร์เซคโนวี (Herceg Novi) ประเทศยูโกสลาเวีย ระหว่างวันที่ 20 - 23 เมษายน พ.ศ. 2519

ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า สารนิเทศเป็น "รากฐานอันจำเป็นสำหรับ ความก้าวหน้าของอารยธรรมและสังคม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ หรือการ ใช้ทรัพยากร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการตัดสินใจ เป็นองค์ประกอบที่จะต้องใช้ในการ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ทรัพยากรสารนิเทศจะมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการพัฒนาทางสังคมและ เศรษฐกิจทุก ๆ ประเภทควรรู้คุณค่า และใช้ความ พยายามอย่างที่สุดในการวางแผน จัด โครงสร้างพัฒนาระบบ และบริการสารนิเทศขึ้นมาให้ได้ระดับทัดเทียมกันให้เกิดมี "สังคม แห่งความรู้" (Knowledge Society) ทั่วโลกจึงควรมีการกระจายความคิดที่จะก่อให้ เกิดบริการก้าวหน้าทางสารนิเทศดังนี้ คือ
    1. รัฐบาลจะต้องอุทิศความสนใจและแบ่งสรรทรัพยากรให้เพียงพอในการสร้าง ระบบสารนิเทศ และบริการสารนิเทศในระดับชาติ
    2. ต้องตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันในระดับระหว่างชาติ
    3. ต้องกำหนดมาตรฐานที่เกื้อกูลการแลกเปลี่ยนผลผลิตทางสารนิเทศ และการ ให้บริการสารนิเทศภายในประเทศไทย และระหว่างประเทศต่าง ๆ ขึ้น
    4. ต้องจัดตั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลขึ้น เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานและการ ประสานงานในระดับชาติ และระหว่างชาติ

สิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างและจัดระบบสารนิเทศแห่งชาติ

ในการจัดระบบสารนิเทศแห่งชาติในแต่ละประเทศควรได้พิจารณาถึงองค์ประกอบ และสิ่งจำเป็นในเรื่องต่อไปนี้ คือ
    1. แหล่งวัสดุหรือทรัพยากรสารนิเทศ ซึ่งจะต้องมีเพียงพอแก่การให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารแก่ทุกคนในชาติ ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ความรู้จะต้องทันสมัยครบถ้วน แหล่งวัสดุนี้ แบ่งอย่างกว้าง ๆ เป็น 3 ประการคือ

    1.1 ห้องสมุดประเภทต่าง ๆ
    1.2 ศูนย์สารนิเทศต่างๆ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่บันทึกและเผยแพร่สารนิเทศ ขั้นสองและขั้นสามแล้ว อาจจะเก็บวัสดุขั้นหนึ่งเฉพาะวิชาด้วย
    1.3 หอจดหมายเหตุ หรือศูนย์เอกสารบริหารงานของรัฐ หรือขององค์การ บริษัท สถาบัน และสมาคม

เนื่องจากในปัจจุบัน ความหมายของคำสารนิเทศ ขยายขอบเขตออกไปมากจึง รวมแหล่งกำเนิดสารนิเทศเข้าไปด้วย เช่น สำนักข่าวสาร สำนักพิมพ์หนังสือ สถาบันการ วิจัย สมาคมทางวิชาชีพ ซึ่งผลิตวารสารและเอกสารทางวิชาการ เป็นต้น

2. แหล่งผลิตบุคลากรที่ดำเนินงานทางสารนิเทศในระดับต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียนหรือภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และภาควิชานิเทศศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย ศูนย์อบรมนักเอกสารสนเทศเฉพาะเรื่องที่ดำเนินการต่อเนื่อง อาจจะเป็นศูนย์เอกเทศหรือ เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรสถาบันเฉพาะวิชา

3. การเชื่อมโยงกับบุคลากรที่ทำให้เกิดความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สถาบันการพัฒนาต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายงานการวิจัย รายงานการประชุมทางวิชาการ ทำเนียบนามบุคลากรทางวิชาการ เป็นต้น

4. การเชื่อมโยงกับบุคลากรซึ่งให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร เช่น นักบริหาร ผู้ตัดสินใจหน่วยงานของรัฐบาล สถาบันการศึกษาเศรษฐกิจและสังคม สถาบันการค้นคว้าวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนา เป็นต้น เพื่อให้ทราบว่า ใคร สถาบันไหน ต้องการความรู้ ข้อมูล ข่าวสารอย่างไรเมื่อใด

5. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเก็บ นำออกใช้ ซึ่งความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และการใช้เทคนิคโทรคมนาคมเพื่อติดต่อกับผู้ใช้ และกระจายความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ไปยังผู้ใช้ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด

6. ระบบซึ่งเกิดขึ้นจากการจัดรวมแหล่งผลิต บุคลากร และการเชื่อมโยง เข้าด้วยกันอย่างมีระเบียบ ด้วยการประสานงาน ร่วมมือ และใช้มาตรฐานเดียว หรือ คล้ายคลึงให้สามารถใช้แลกเปลี่ยนวัสดุ ข้อมูล และซอฟต์แวร์ (Software) ระหว่างกันได้

7. นโยบายในระดับชาติ ซึ่งจะส่งเสริมเกื้อกูลการสร้างระบบสารนิเทศให้เป็น ไปอย่างถูกต้องตามระเบียบและวิธีการ และให้สามารถมีเงินเพื่อดำเนินการอย่างเพียงพอ

8. กลไกสำหรับการเชื่อมโยงและประสานงานในระบบ รวมทั้งกฎหมาย ข้อบังคับที่จำเป็นสำหรับการสร้างระบบ และการเชื่อมโยงระบบสารนิเทศแห่งชาติเข้ากับ ระบบส่วนภูมิภาคและสากล กลไกเพื่อการเชื่อมโยงและประสานงานโยบายสารนิเทศแห่งชาติ

ในการกำหนดนโยบายสารนิเทศแห่งชาติจำเป็นต้องมีหน่วยงานในการเชื่อมโยง แหล่งความรู้ต่างๆ ให้เข้าเป็นระบบ อาจจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการ สภา หรือหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งที่มีอยู่แล้วให้ทำหน้าที่นี้ หน่วยงานนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่สามารถประสานงาน เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ มีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
    1. แนะนำในการกำหนดนโยบาย
    2. วางแผนหาแหล่งงบประมาณ
    3. แจกจ่ายความรับผิดชอบให้แก่องค์ประกอบต่าง ๆ ของโครงสร้างระบบสารนิเทศ
    4. ติดตามผลและทำหน้าที่ประสานงานระหว่างชาติในระดับของรัฐบาล

กลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการเพื่อดำเนิน การตามแผนและมติของคณะกรรมการ หรือสภา และเพื่อความมั่นคงของคณะกรรมการ สารนิเทศแห่งชาติ ควรมีการออกกฎหมายรับรองฐานะและมีการกำหนดหน้าที่ไว้อย่างแน่นอน

หน้าสารบัญ