1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

นโยบายสารนิเทศและระบบสารนิเทศในประเทศไทย

พัฒนาการใช้สารนิเทศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับ ประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการสารนิเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่ง ข้อมูลที่จะให้สารนิเทศทางวิชาการในหลายรูปแบบ แต่ต่างฝ่ายต่างทำ ยังขาด การเชื่อมโยง และเป็นระบบเดียวกันในระดับชาติ ทำให้สิ้นเปลืองและล่าช้า ดังนั้นการเข้าเป็นระบบก็จะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ มากที่สุด คณะกรรมการระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์สากล (UNISIST) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศของประเทศไทย เห็นควรให้มี การวางระบบ สารนิเทศแห่งชาติขึ้น เพื่อที่จะสามารถดำเนินการด้านสารนิเทศทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรี ให้มีการจัดตั้งโครงการระบบสารนิเทศแห่งชาติขึ้น ขณะนี้กำลังอยู่ ในระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี แต่ก่อนหน้านี้ได้มีความ พยายาม ในการดำเนินการ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายสารนิเทศแห่งชาติ เช่น การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุด แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 กำหนดหัวข้อประชุมภายใต้หัวข้อการประชุม "ระบบสารนิเทศแห่งชาติ" จนก่อให้เกิดการจัดทำโครงสร้างสารนิเทศแห่งชาติ ตลอดจน การประชุมระดับชาติที่เกี่ยวกับนโยบายสารนิเทศแห่งชาติเมื่อ พ.ศ.2529 โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นผู้จัด

พัฒนาการนโยบายสารนิเทศในประเทศไทย

การประชุมสัมมนา เรื่อง นโยบายสารนิเทศแห่งชาติ พ.ศ. 2529 ผู้เข้าร่วมการประชุม เป็นผู้แทนของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาห้องสมุด ศูนย์เอกสาร ศูนย์ สารนิเทศ หอจดหมายเหตุ และสถาบันที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น นับเป็นการประชุมสัมมนา ระดับชาติ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้กำหนดนโยบายสารนิเทศแห่งชาติไว้ 8 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
    1.รับรองว่าสารนิเทศเป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการพัฒนา และ ให้ความสำคัญสูงแก่แหล่งสารนิเทศของรัฐ
    2. ให้ความสนใจและจัดสรรทรัพยากรตามความเหมาะสมในการสร้างและ ปรับปรุงโครงสร้างสารนิเทศและ บริการสารนิเทศในประเทศในระดับชาติ โดยให้สอดคล้อง ตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    3.ส่งเสริมให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงและรับรู้สารนิเทศได้ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด และให้ชนในชาติมีสิทธิในการใช้สารนิเทศ ได้ตามที่รับรองเป็นสิทธิแห่งมนุษยชน
    4.ส่งเสริม ดูแลและดำเนินการให้มีการฝึกสอนเกี่ยวกับการใช้บริการสารนิเทศ แก่ผู้ใช้ในระดับต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำสารนิเทศ ไปใช้ ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาประ เทศได้
    5.ส่งเสริมดูแลดำเนินการให้มีการผลิตและฝึกอบรม บุคลากรที่เกี่ยวกับสารนิเทศ ในระดับต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
    6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรที่เกี่ยวกับสารนิเทศ มีความมั่นคงและก้าวหน้าใน สายงาน
    7. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบและบริการสารนิเทศ
    8.ส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานสารนิเทศในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างชาติ โดยรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ และความมั่นคงของชาติ

พัฒนาการของระบบสารนิเทศแห่งชาติในประเทศไทย

ความคิดในการให้บริการสารนิเทศแห่งชาติ ได้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2508 เมื่อ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้เสนอต่อ กรมวิเทศสหการ กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ให้พิจารณาจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แผนที่ 1 ฉบับที่ 2 เมื่อองค์การการศึกษาฯ จัดประชุมระดับโลก เรื่องระบบสารนิเทศแห่งชาติ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย คือ นางแม้นมาส ชวลิต ผู้อำนวยการกองหอสมุดแห่งชาติ และนางเฉลิมวรรณ ชูทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทยฯ พิจารณาเรื่อง ระบบสารนิเทศแห่งชาติ เป็นหัวข้อการประชุมใหญ่สามัญประจำปีนั้น ได้แปลสรุปเอกสารการประชุมออกเผยแพร่และ ใช้เป็นเอกสารการประชุม ได้มีการพิจารณาเรื่องนโยบายและโครง สร้างระบบสารนิเทศแห่งชาติ คำ "สารนิเทศ" ในความหมายว่า ความรู้ เรื่องราว ข่าวสาร ที่มีการบันทึกและจัดการเพื่อเผยแพร่ใช้ครั้งแรกในปีนั้น

นับแต่ พ.ศ. 2520 ความคิดเกี่ยวกับระบบสารนิเทศแห่งชาติได้แพร่หลายใน วงการห้องสมุดในประเทศไทยตามสมควร เช่น มีการสอนเรื่องนี้ในภาควิชา บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ศัพท์"สารนิเทศ"ก็ได้รับการรับรองจาก ราชบัณฑิตยสถาน หัวข้อการประชุมทางวิชาการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ภายในกรอบของระบบสารนิเทศแห่งชาติ เน้นให้เห็นความเกี่ยวข้อง ระหว่างสารนิเทศกับการพัฒนาประเทศเห็นได้ชัดในช่วง พ.ศ. 2527-2529 ซึ่งมีหัวข้อ การประชุมว่า สารนิเทศกับการพัฒนาประเทศ (พ.ศ. 2527) ระบบและบริการห้องสมุด เพื่อการพัฒนา(พ.ศ.2528) และ ใน พ.ศ.2527 ได้มีเอกสารทาง วิชาการเรื่อง นโยบายสารนิเทศและระบบสารนิเทศแห่งชาติ

ใน พ.ศ. 2522 คณะกรรมการสารนิเทศวิทยาศาสตร์สากล ของคณะกรรมการ แห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้พิจารณาเห็น ความสำคัญของระบบสารนิเทศแห่งชาติ จึงตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง ให้จัดทำโครงการ ระบบสารนิเทศแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ได้จัดให้มีการสำรวจสภาพแหล่งวัสดุ และบริการสารนิเทศในประเทศไทยในขณะนั้น เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน มาประกอบการกำหนดนโยบาย และโครงสร้างระบบสารนิเทศ

คณะทำงานได้เสนอโครงการระบบสารนิเทศแห่งชาติต่อคณะกรรมการสารนิเทศ วิทยาศาสตร์สากล มีการปรับปรุงแก้ไข 3 - 4 ครั้ง และมีการปรับปรุงคณะทำงาน เนื่องจากบางคนเกษียณอายุราชการ และพ้นวาระการเป็นกรรมการของคณะกรรมการ สารนิเทศวิทยาศาสตร์สากล

เอกสารโครงการระบบสารนิเทศแห่งชาติ ได้ระบุถึงสภาพปัญหางานสารนิเทศ ในประเทศไทย หลักการในการจัดบริการสารนิเทศ ทางวิชาการที่มีอยู่แล้วให้เป็นระบบเพื่อ ประโยชน์ในการพัฒนาบุคคลและการพัฒนาประเทศ ให้สามารถจัดระบบและบริการที่มี มาตรฐานทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้มีแหล่งสารนิเทศครบถ้วนทุกสาขา ขจัด ความซ้ำซ้อนและเพื่อให้เกิดความร่วมมือ ประสานงาน แลกเปลี่ยนสารนิเทศและข่าวสารซึ่ง กันและกันในระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ โดยรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของชาติ

ในด้านนโยบายสารนิเทศแห่งชาตินั้น กำลฃช74นดไว้ว่า รัฐให้ความสำคัญแก่สารนิเทศ ว่า เป็นทรัพยากรสำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการพัฒนา ประเทศ จะส่งเสริมสนับสนุนทุกด้านที่ เกี่ยวข้องรวมทั้งการฝึกสอนผู้ใช้ระดับต่าง ๆ ให้สามารถนำสารนิเทศ ไปใช้ในการพัฒนา ตนเองและพัฒนาประเทศ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

โครงสร้างองค์กรของระบบสารนิเทศแห่งชาติ ประกอบด้วย

    1.คณะกรรมการอำนวยและประสานงานระบบสารนิเทศวิชาการแห่งชาติ มีรองนายกรัฐมนตรี (ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย) เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ กองหอสมุดแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการศูนย์ประสานงาน สารนิเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการและ ประสานงาน
    2. แหล่งผลิตความรู้และข่าวสาร อันได้แก่ สถาบันการศึกษา สมาคมองค์การ ทางวิชาชีพ และสำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่สื่อความรู้ทุกชนิด
    3. แหล่งรวบรวมวัสดุสารนิเทศ ได้แก่ ห้องสมุด ศูนย์เอกสาร หอจดหมายเหตุ รวมสถาบันและหน่วยราชการซึ่งมีชื่ออย่างอื่น แต่มีวัสดุสารนิเทศ และให้บริการสารนิเทศ
    4. แหล่งฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับสารนิเทศ การเรียนการสอนในระดับมหา วิทยาลัยและการฝึกอบรมบุคลากรประจำการในระยะสั้น
    5. ผู้ใช้สารนิเทศ และรวมแหล่งฝึกผู้ใช้สารนิเทศระดับต่าง ๆ
    6. การเงิน เพื่อดำเนินการระบบและบริการสารนิเทศให้ได้ผลดี

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการระบบสารนิเทศแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 และได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และประสานงานระบบสารนิเทศแห่งชาติ เมื่อ วันที่ 21 เมษายน 2530

หน้าสารบัญ