1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

การจัดทำดรรชนี

การจัดทำดรรชนี เป็นวิธีการช่วยค้นสารนิเทศได้อย่างรวดเร็วอีกวิธีการหนึ่ง เป็นเครื่องชี้แนะซึ่งจัดทำอย่างมีระบบต่อเนื้อหา ของสารนิเทศต่างๆ หรือแนวความคิดจากสื่อสารนิเทศ (Rothman 1974 : 286) ดรรชนีมาจากคำว่า Index ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ชี้หรือแสดง ดรรชนี เริ่มมีการจัดทำขึ้นในประเทศอังกฤษก่อน แรกเริ่มปรากฎในท้ายเล่มของหนังสือแต่ละเล่ม โดย เป็นรายการหรือรายชื่อที่จัดเรียงไว้ตามลำดับอักษร (วลัยพร เหมะรัชตะ 2531 : 64- 65) มีการปรับปรุงวิธีการจัดทำดรรชนี เพื่อให้เป็นแนวทางในการควบคุมสารนิเทศให้ค้นสารนิเทศได้รวดเร็วขึ้นจากการอ่านหนังสือ จากนั้นมีการนำวิธีการทำดรรชนีจากหนังสือ มาใช้กับวารสาร มีการจัดทำดรรชนีในการวิเคราะห์เนื้อหาของวารสาร เพื่ออำนวยความส ะดวกต่อการค้นบทความจากวารสาร ที่มีจำนวนมากในแต่ละวัน การจัดทำดรรชนีวารสารและดรรชนีของหนังสือ มีพื้นฐานในการจัดทำเหมือนกัน แต่ดรรชนีวารสาร มีกฎเกณฑ์ในการทำที่เคร่งครัดกว่า ใหัความรู้สึกซึ้งกว่า และกำหนดหัวเรื่องที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐาน (วลัยพร เหมะรัชตะ 2531: 66) หัวเรื่องที่ใช้กับการจัดทำดรรชนีจึงมีความสัมพันธ์กับระบบการให้หัวเรื่องโดยทั่วไปและหัวเรื่องเฉพาะ

ลักษณะของดรรชนีอาจมีรูปแบบต่างๆกันเช่น ดรรชนีท้ายเล่มหนังสือ ดรรชนี บทความวารสาร ดรรชนีของรายงาน ดรรชนีสาระสังเขป ดรรชนีหนังสือรวมงาน ดรรชนี หนังสือแผนที่ ตลอดจนดรรชนีเอกสาร สารสนเทศต่าง ๆ โดยทั่วไป ดรรชนีจะประกอบด้วย คำหรือกลุ่มของคำที่เรียกว่า หัวเรื่อง (Headings) และอาจมีหัวเรื่องรอง (Subheadings) ติดตามมาด้วยก็ได้

ประเภทของดรรชนี

วิธีการจัดทำดรรชนี อาจแบ่งได้เป็น 5 ประเภท (วลัยพร เหมะรัชตะ 2528:63-73) ดังต่อไปนี้ คือ

    1. ดรรชนีแบบตัวเรื่อง (Controlled Vocabulary Index) เป็นดรรชนีที่กำหนดคำหรือวลีใช้เป็นหัวเรื่องของการจัดทำดรรชนี โดยใช้หัวเรื่องจากหนังสือหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานสากลอยู่แล้วเช่นSear's List of Subject Headings หรือ Library of Congress List of Subject Headings เป็นต้น การจัดทำดรรชนี
    2. ดรรชนีประเภทแบบฉบับ (Conventional Index) หมายถึง การให้ดรรชนีหัวเรื่องที่เป็นแบบฉบับ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
      2.1 ดรรชนีหัวเรื่องเรียงตามลำดับอักษร (Alphabetical Subject Index) คือ ดรรชนีหัวเรื่องที่จัดเรื่องตามลำดับตัวอักษร เป็นหลัก เป็นการจัดทำดรรชนีที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ ดรรชนีประเภทนี้เทียบได้กับสมุดโทรศัพท๎ที่เป็นดรรชนีชื่อ (Name Index) หรือดรรชนีที่อยู่ท้ายเล่มของหนังสือ ซึ่งมักจัดทำเป็นดรรชนีผู้แต่ง ดรรชนีชื่อเรื่อง และดรรชนีเรื่อง
      2.2 ดรรชนีเรียงตามหมวดหมู่ตามลำดับขั้น (Hierachically Classified Index) คือดรรชนีหัวเรื่องที่จัดแยกเป็นหมวดหมู่ และจัดเรียงตามลำดับขั้น ดรรชนีประเภทนี้ สาขาวิชาความรู้จะถูกนำมาจัดแยกเป็นหมวดหมู่ และจัดเรียงตามลำดับขั้นความสัม พันธ์ที่เกี่ยวข้องกันโดยกำหนดเป็นหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องรอง หัวเรื่องย่อย ตามลำดับลดหลั่นกัน ทำนองเดียวกับการจัดหมวดหมู่ หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้
      2.3ดรรชนีเรียงตามหมวดหมู่ตามลำดับตัวอักษร(Alphabetico-Classified Index)เป็นดรรชนีที่จัดหมวดหมู่และเรียงตามลำดับ อักษรดรรชนีประเภทนี้จะจัดเรียงรายการตามหัวเรื่องในหมวดใหญ่ และหมวดหมู่ย่อยเฉพาะลงไป และในแต่ละหมวดหมู่จะจัดเรียง ตามลำดับตัวอักษรอีกทีหนึ่ง

    3. ดรรชนีประเภทผสมคำ (Coordinate Index) หมายถึง ดรรชนีที่นำเอาคำมารวมกันเพื่อใช้เป็นหัวเรื่องคำที่นำมารวมกัน อาจมีคำตั้งแต่2คำขึ้นไปหรือมากกว่านั้น เพื่อให้ได้คำใหม่หรือหัวเรื่องใหม่ ซึ่งจะมีความหมายต่างไปจากคำเดิม
    4. ดรรชนีชื่อเรื่อง (Keyword From Title Index) เป็นดรรชนีที่จัดทำขึ้นตามเทคโนโลยีสารนิเทศที่เปลี่ยนไป โดยการนำคำสำคัญจากชื่อเรื่องของเอกสารมาทำดรรชนีโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำ แบบของดรรชนีประเภทนี้ที่รู้จักกันดี คือ KWIC (Key-Word-in-Context) Index และ KWOC (Key-Word-out-of-Context) Index การให้ดรรชนีแบบ KWIC มีกำเนิดมาจาก แอนเดรืย เครสตาโดโร ( Andria Crestadoro ) เมื่อ ค.ศ.1864 โดยใช้ชื่อว่า Keyword in titles สำหรับจัดทำบัตรรายการหนังสือในห้องสมุดประชาชน แมนเซสเตอร์ หลังจากนั้นได้นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ โดย เอ็ช พี ลันน์ (H.P. Luhn) การให้ดรรชนีแบบ KWIC นั้น คอมพิวเตอร์จะ รวบรวมชื่อเรื่องไว้ ดังนั้นคำสำคัญแต่ละคำจะปรากฎอยู่ที่ส่วนกลางของคอลัมน์หรือหน้ากระดาษตามลำดับตัวอักษรส่วนดรรชนี ในระบบKWOC ( Keyword-out-of - context) คำสำคัญจะปรากฎที่ขอบหน้ากระดาษ หรือในแบบฟอร์มของการให้หัวเรื่องในบัตร (Bakewell 1978 : 163)
    5. ดรรชนีอ้างอิง (Citation Index) หมายถึง การทำดรรชนีแบบยึดรายการอ้างอิงท้ายเอกสารเป็นหลัก และเป็นดรรชนีอีกประเภทหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำเป็นระบบการจัดทำดรรชนีแบบใหม่ที่มุ่งในการปรับปรุง ข้อบกพร่องของการทำดรรชนีแบบเก่า เพราะไม่ต้องอาศัยนักวิชาการเฉพาะสาขาวิชามาช่วยในการจัดทำดรรชนี

ตัวอย่าง

การจัดพิมพ์ดรรชนีท้ายเล่มหนังสือ (Stair 1984 : 599) เพื่อค้นสารนิเทศที่ตีพิมพ์ในหน้าหนังสือชื่อ Principles of Data Processing : Concepts, Application and Cases.

INDEX

    A
    Abacus, 72-73
    Accounting systems central processing,111-12
      accounts receivable and computer systems,459-60
      payable, 56,349
      computerized systems,367-68
      general ledger,351
      program and application inventory control,350-51
      development,291-92
      invoicing,348-49
      programming design,341-43
      payroll,349
      programming languages,271

    Accumulator register,97
      programming tools,312-14

    Action statements, 307 566-67
    Ada,programming language,
      special purpose hardware,201 261-62,475
      storage devices,151

    Address,98
      systems analysis and design,394

    Address register,97
      systems and processing

    Aiken,Howard H.,79
      environment,67-68

    ALGOL,332
    Alphanumeric terminal, Institute (ANSI),252 168
    Analog computer,24
    Altair,microcomputer,84
    Analysis and design,software,279-
    American Airlines,82 80
    American Express Analysis,systems
      careers in data process data analysis,376-77
      data collection,374-76

สื่อสารนิเทศทวีจำนวนปริมาณการผลิตเพื่อการใช้ประโยชน์มากเท่าใด การจัดทำดรรชนีจะเป็นตัวกลางที่มีบทบาทต่อการควบคุม การค้นหาสารนิเทศที่ผู้ใช้สารนิเทศต้องการได้ เป็นการประหยัดเวลาของผู้ใช้ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำดรรชนี คือ นักสารนิเทศเฉพาะ วิชาในสาขาต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ทำดรรชนี (Indexer) เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำดรรชนี เพื่ออำนวยประโยชน์ในการค้นสารนิเทศ ได้อย่างรวดเร็ว

หน้าสารบัญ