1631101 ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
Introduction to Library and Information Science

2 (2 - 0)

พัฒนาการของวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

พัฒนาการของวิชาสารนิเทศศาสตร์

จากพัฒนาการของการใช้สื่อสารนิเทศประเภทสิ่งพิมพ์ ปริมาณของสิ่งพิมพ์มีเป็น จำนวนมาก ก่อให้เกิดสถาบันเพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า ซึ่งก่อให้เกิดจุดกำเนิดของวิชา สารนิเทศศาสตร์ในปัจจุบัน ถ้าจะพิจารณาถึงคำว่า "information science" ก็ควร ต้องย้อนพิจารณาไปดูถึงคำที่ใกล้เคียงกันในสังคมที่ผ่านมาเป็นส่วนประกอบด้วยคำว่า"information science" มีพัฒนาการย้อนหลังมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 โดยเริ่มมาจากคำว่า "bibliography", "documentation", "information retrieval" จนกระทั่งมาเป็นคำ information science ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง มากที่สุด
ในปี ค.ศ.1895 พอล ออทเล็ท (Paul Otlet) และเฮ็นรี ลา ฟองเทน (Henri la Fontain) ได้ก่อตั้งสถาบันบรรณานุกรม ระหว่างประเทศ (Institut Internationale de Bibliographie) สถาบันนี้ได้ผลิตสิ่งพิมพ์ขึ้นมาเป็นเล่มแรกในปี ค.ศ.1904 เป็นบรรณานุกรมสำหรับค้นสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การก่อตั้ง สถาบันบรรณานุกรมระหว่างประเทศในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยมครั้งนี้จึงนับว่าเป็น การจัดตั้งสถาบันนานาชาติที่ดำเนินการเกี่ยวกับสารนิเทศครั้งแรก ฟองเทนยังมีแนวความ คิดที่จะจัดทำบรรณานุกรมสากล หรือบรรณานุกรมนานาชาติอีกด้วย
การจัดทำบรรณานุกรมสากล โดยออทเล็ท และฟองเทน เป็นการจัดทำอย่าง ละเอียดสมบูรณ์ และ มีการวิเคราะห์ เนื้อหาของเอกสารด้วย จัดว่าเป็นการสร้างดรรชนีสากล (Universal index) ของเอกสาร การจัดทำดรรชนีได้ครอบคลุมถึงเนื้อหา ของหนังสือ แต่ละเล่ม เนื้อหาจากบทความวารสาร จุลสาร สิ่งพิมพ์รัฐบาล สิทธิบัตร รูปภาพ หนังสือพิมพ์ ซึ่งในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ยังไม่มีผู้ใดจัดทำมาก่อน (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ 2531:295-296) งานบรรณานุกรมเล่มนี้ ได้รวบรวมรายการเนื้อหาสาระจากสารนิเทศ ต่าง ๆ จำนวนถึงประมาณ 40,000 รายการ
สถาบันนานาชาติว่าด้วยบรรณานุกรม ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถาบันสารนิเทศ ระหว่างประเทศ (The Institute International de Documentation) เมื่อปี ค.ศ.1931 และเพิ่มบทบาทจนเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์สารนิเทศระหว่างประเทศ (The Federation internationale de Documentation) ในปี ค.ศ.1938 จึงนับว่า เป็นสถาบันแรกที่พัฒนาในการควบคุมสารนิเทศ (Miski 1986 : 50) คำว่า สารนิเทศ จึงตรงกับคำว่า documentation ในสมัยนี้ ผลงานของออทเล็ท หลายชิ้นเป็นความ พยายามที่จะให้ documentation เป็นสาขาวิชาของการศึกษาเป็นศาสตร์ (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ 2531:296) ซึ่งเป็นเป้ามหายสูงสุดที่จะนำไปสู่วิธีการ ที่มีการผลิตสารนิเทศ ออกมา บันทึกไว้ถ่ายทอด จัดดำเนินการ และให้ใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ในช่วงปี ค.ศ.1937 วัตสัน เดวิส (Watson Davis) ได้ตระหนักถึงคุณค่า ของวัสดุย่อส่วนในการนำมาจัดเก็บและให้บริการ สารนิเทศ มีการดำเนินการจัดตั้ง สถาบัน สารนิเทศแห่งอเมริกัน (The American Documentation Institute) เพื่อเพิ่ม ความสำคัญของการดำเนินการสารนิเทศในประเทศสหรัฐอเมริกา (Miski 1986 : 50) ก่อนหน้านั้น เดวิส ได้จัดตั้งสถาบันบริการสารนิเทศวิทยาศาสตร์ (Documentation Institute of Science Service) เมื่อ ค.ศ.1926 มาก่อนแล้ว (สุนทร แก้วลาย 2521:5) ยิ่งทำให้วิชาสารนิเทศศาสตร์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว้างขวางขึ้น คือเป็น การควบคุมบรรณานุกรม ทางด้านวิทยาศาสตร์ พัฒนาเทคโนโลยีด้านไมโครกราฟฟิค (นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ 2531 : 297) และจากการจัดตั้งสถาบัน สารนิเทศแห่งอเมริกัน ก็เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการพบปะของผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่อาวุโสต่าง ๆ จากวงการ ห้องสมุด สถาบันได้เริ่มออกวารสาร Journal of Documentary Reproduction ตั้งแต่ปี ค.ศ.1932 และเปลี่ยนชื่อต่อมาในปัจจุบันคือ Journal of the American Society for Information Science ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของพัฒนาการของวิชาสารนิเทศศาสตร์ ส่วนหนึ่ง
ช่วงหลังปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสารนิเทศการจัดเก็บ สารนิเทศ การสืบค้นสารนิเทศในสถาบันการศึกษา หลายแห่ง โดยมีการเริ่มต้นศึกษาวิจัย จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น รีเสริฟ มลรัฐโอไฮโอ เมื่อปี ค.ศ.1955 ภายหลังจากการ ศึกษาวิจัย มีผู้ทำการวิจัยเพิ่มเติมขึ้นอีกมาก จึงเป็นยุคของการพัฒนาสาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมกันอย่างกว้างขวาง ในช่วงปี ค.ศ.1960 ก่อให้เกิด แนวความคิดใหม่ ๆ ทางด้านขบวนการจัดเก็บสารนิเทศ และการสืบค้นข้อมูล ทำให้เกิด ระบบการสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีการเหล่านี้ได้แก่ การคัดเลือกเผยแพร่สาร นิเทศ (Selective dissemination of information -SDI) บัญชีดำในดรรชนี (Key word in context -KWIC) บัญชีหัวเรื่องเฉพาะ (thesauri) เกิดหน่วยงาน ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ การคัดเลือกกลุ่มเอกสาร และเกิด หลักการใหม่ ๆ ในเรื่องการออกแบบและการวิเคราะห์ระบบ (Seracevic 1979 :1-15) เป็นต้น
มีการเปิดสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศศาสตร์ เพื่อให้ค้นหาสารนิเทศได้สะดวก วิชาแรกที่เปิดสอนเป็นการศึกษา เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูล คือ การค้นหาวรรณกรรมด้วยเครื่อง จักรกล (Machine Literature Searching) เปิดสอนใน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสริฟ เมื่อปีค.ศ.1955 (Seracevic 1979 : 1-15 )
ในปี ค.ศ. 1961 และ 1962 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ได้จัดการประชุมที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology -GIT) เพื่อฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญสารนิเทศ ถึงแม้ว่าสาร นิเทศศาสตร์มีขอบเขตเพียงแต่สารนิเทศทางวิทยาศาสตร์ แต่ที่ประชุมได้พยายามกระตุ้นเตือนให้เห็นความสำคัญของ การผสมผสานและการพัฒนาเทคโนโลยีข้อมูลและสารนิเทศศาสตร์ ด้วย ภายหลังจากการจัดประชุม ได้มีการจัดตั้ง สถาบันสารนิเทศและคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่ GIT และศูนย์สารนิเทศศาสตร์ที่ Lehigh University มลรัฐเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
หลักสูตรการศึกษาวิชาสารนิเทศศาสตร์ ที่ Lehigh University ในปี ค.ศ. 1967 ประกอบไปด้วย 5 สาขาวิชา (Miski 1986 : 51) คือ
    1. การวิเคราะห์ระบบสารนิเทศ (Information system analysis)
    2. นิเวศวิทยาของระบบสารนิเทศ (Ecology of information system)
    3. สื่อสารนิเทศ (Information media)
    4. การจัดการสารนิเทศ (Organization of information)
    5. ระบบการติดต่อระหว่างมนุษย์ (Man-system interface)
การศึกษาเกี่ยวกับวิชาสารนิเทศศาสตร์ได้บรรลุถึงจุดแห่งพัฒนาการในการเรียน การสอนอย่างแท้จริง เมื่อมีการประชุม ระหว่างมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น รีเสริฟ และมหาวิทยาลัย ชิคาโก ในปี ค.ศ.1964 แต่โปรแกรมการเรียนการสอน ยังคงเกี่ยวข้องเฉพาะสารนิเทศทางด้าน วิทยาศาสตร์ (science information) จนกระทั่งในปีต่อมาได้มีการประชุมซึ่งจัดโดยสถาบัน สารนิเทศอเมริกัน ที่ประชุมได้สรุปวิธีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมการเรียนการสอน
ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 แอลเลน เค้นท์ (Allen Kent) ได้เสนอโปรแกรมวิชา เพื่อเปิดสอนในมหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ต่อมาได้มีการเปิดสอนโปรแกรมวิชาการสารนิเทศศาสตร์ เพิ่มมากขึ้นในปลายปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป
สถาบันสารนิเทศแห่งอเมริกัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมสารนิเทศศาสตร์อเมริกัน (The American Society for Information Science -ASIS) เมื่อปี ค.ศ. 1968 เพื่อเป็นการแสดงว่าเรื่องของสารนิเทศศาสตร์เป็นวิชาการใหม่ในการให้บริการ สารนิเทศจึงเป็นจุดเริ่มต้นของวิชาสารนิเทศศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของข่าวสาร (Information aga) หรือ ยุคปฎิวัติข่าวสาร (Information revolution)

หน้าสารบัญ