1544603 การสืบค้นข้อมูลภาษาไทย
(Thai Information Retrieval) 3(3-0-6)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
ผู้สอน รศ.ดร.จุมพจน์ วนิชกุล
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ถนนกาญจนบุรี-ไทรโยค ต.หนองบัว อ.เมือง กาญจนบุรี 71000

***ความรู้คืออำนาจ เรียนและค้นคว้าให้สนุกในโลกของสังคมข่าวสาร ไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา***


คำอธิบายรายวิชา/
แนวการสอน
(Course
Overview)

สารบัญเนื้อหาวิชา

กิจกรรมการเรียน
การสอน

สื่อการสอน

การประเมินผล
(Evaluation)

ตำราประกอบ
การสอน
(Texts and
Materials)

แหล่งทรัพยากร
สารสนเทศอื่นๆ
(Other Useful
Resources)

แหล่งทรัพยากร
เกี่ยวกับ
Internet
(Resources
about the
Internet and
Its Tools)

ตำราและวารสาร
อิเล็กทรอนิกส์
(On-Line
Journals and
Magazines)

แนะนำตัวผู้สอน

รายชื่อนักศึกษา

ผลงานของนักศึกษา

การสอบปลายภาค


Home

สารสนเทศภาษาไทยในสังคมความรู้

สื่อสารสนเทศภาษาไทยต่าง ๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บ การใช้สารนิเทศ ตลอดจนการคัดเลือกสารสนเทศ ที่มีปริมาณมหาศาลมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้สารสเทศในอดีตที่สำคัญคือ บรรณารักษ์ และสถานที่ให้บริการ สารสนเทศที่สำคัญคือ ห้องสมุด แต่ในปัจจุบันผู้ให้บริการสารสเทศขยายกว้างขวางออกไป หน้าที่ในการควบคุมสารสนเทศเพื่อให้ บริการและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศจึงเป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ นักจดหมายเหตุ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา ตลอดจน บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศได้เต็มที่ การควบคุมสารสนเทศจัดทำได้หลายวิธีการ มีทั้งที่เป็นระบบที่เป็นที่ยอมรับ และระบบที่จัดทำขึ้นเองหรือควบคุมสารสนเทศด้วยวิธีการเฉพาะด้าน แต่ไม่ว่าจะมีวิธีการควบคุมสารสนเทศด้วยวิธีใด ล้วนแต่ให้ ประโยชน์ในการสืบค้นการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศนั้นๆทั้งสิ้น

การจัดหมวดหมู่สารสนเทศ เป็นการควบคุมสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพที่จัดดำเนินการห้องสมุดมาตั้งแต่แรกเริ่ม การมีหนังสือ ในสังคมมนุษย์ การจัดหมู่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Classification" บุชนัน (Buchanan,1979, p. 9) ให้คำจำกัดความว่า การจัดหมู่เป็นการจัดกลุ่มสิ่งของเข้าด้วยกัน กลุ่มของอาจจะเป็นสิ่งของ แนวความคิด หรือนามธรรมอื่น ๆ เช่น อาจจัดเสือ สิงโต เสือดาว ไว้ใกล้ ๆ กันในสวนสัตว์ โดยพิจารณาว่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (1943, p. 30) ให้คำจำกัดความว่า เป็นระบบที่เป็นระเบียบต่อการจัดหนังสือและวัสดุอื่น ๆ ตามหัวเรื่องหรือรูปลักษณะ จารุวรรณ สินธุโสภณ (2521, หน้า 37) อธิบายความหมายของการจัดหมวดหมู่ว่า เป็นการจัดหมวดหมู่ของหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุอื่น ๆ ที่ห้องสมุดมีอยู่ทั้งหมด โดยคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วในการหยิบใช้ได้ง่าย การจัดหมวดหมู่หนึ่งเรียกว่า ระบบหนึ่ง มีระบบการจัดหมวดหมู่หลายระบบ ห้องสมุดสามารถเลือกใช้ระบบใดระบบหนึ่ง การจัดหมวดหมู่หนังสือจึงมีขอบเขตแล้วแต่พื้นฐานของการจัดหมวดหมู่ของวัสดุสิ่ง ของต่างๆ การจัดหมู่หมู่โดยทั่วๆ ไปแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การจัดหมู่ตามลักษณะธรรมชาติ และการจัดหมู่ตามลักษณะที่ปรากฏภายนอก Srivastava (1973, p. 6) ได้ กล่าวสรุปว่า การจัดหมู่ตามลักษณะธรรมชาติ หมายถึง การจัดหมวดหมู่วัสดุ โดยพิจารณา จากลักษณะโครงสร้างเนื้อหาและหน้าที่ของสิ่งที่จะนำมาจัดหมู่ ถ้ามีความคล้ายคลึงกันก็จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น การจัดเนื้อหาตามกลุ่มวิชา เช่น เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์ เป็นต้น โดยไม่คำนึงถึงสีของปกหนังสือ ขนาดรูปเล่มหนังสือ หรือเลขทะเบียนของวัสดุห้องสมุดชิ้นนั้น ๆ

การจัดหมวดหมู่วัสดุห้องสมุดตามแบบนี้ นับได้ว่าได้ประโยชน์กว้างขวางและยาวนาน (ณรงค์ ป้อมบุปผา, 2528, หน้า 5) ส่วนการจัดหมู่ตามลักษณะที่ปรากฎภายนอก ต้องพิจารณาจากความคล้ายคลึง และความแตกต่างของสิ่งที่ปรากฎภายนอก ได้แก่ สี ขนาด และรูปร่าง เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น การจัดแบ่งวัสดุห้องสมุดออกตามสภาพและประเภทของวัสดุห้องสมุด เช่น การจัดเก็บวารสารไว้ด้วยกันในแผนกวารสาร การจัดเก็บวัสดุโสตทัศนอุปกรณ์ตามลำดับของหมายเลขทะเบียนของวัสดุเหล่านั้น เป็นต้น สารนิเทศในศูนย์สารนิเทศและห้องสมุด ซึ่งมีทั้งวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ จึงจำเป็นต้องมีการจัดหมวดหมู่ตามความจำเป็นของการให้บริการภายในห้องสมุดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการการจะเลือกใช้ระบบหมวดหมู่ใด ในการบริหารงานศูนย์สารสนเทศ จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาจำนวนวัสดุต่างๆ ที่มีอยู่ภายในศูนย์สารนิเทศ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณา เช่น ห้องสมุดโรงเรียนมีหนังสือน้อยอาจใช้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสืออย่างกว้าง ๆ ในขณะที่ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมี ความจำเป็นต้องใช้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสืออย่างละเอียด หรือศูนย์สารสนเทศเฉพาะด้านอาจจะต้องกำหนดระบบหมวด หมู่เอกสารขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ

จุดประสงค์และประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ

การจัดหมู่หนังสือมีวิธีการจัดหนังสือที่มีเนื้อหาหรือวิธีการประพันธ์ที่คล้ายกัน ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน ก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ผู้ใช้หยิบหนังสือได้ถูกต้องและรวดเร็ว การจัดหมู่หนังสือจะมีวิธีการกำหนดเลขเรียกหนังสือ (Call Number) ที่แน่นอน มีที่อยู่ตายตัวบนชั้นหนังสือ ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถหยิบหนังสือได้ถูกต้องและรวดเร็ว
2. เพื่อให้ผู้ใช้สามารถหยิบหรือค้นหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันเพื่อนำไปประกอบการศึกษาค้นคว้าได้สะดวก ทั้งนี้เพราะหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันย่อมจัดเรียงลำดับอยู่ใกล้ๆกัน ผู้ใช้ห้องสมุดหยิบหนังสือจากชั้นใดชั้นหนึ่ง ย่อมพบเนื้อหาวิชาของหนังสือเล่มอื่นๆ อยู่ใกล้เคียงกันสามารถหยิบหนังสือเล่มดังกล่าวมาอ่านเปรียบเทียบเพื่อศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เปรียบเทียบกันได้
3. เพื่อสะดวกในการเก็บรักษาและดูแล การจัดหมู่หนังสือที่ดีที่เป็นระบบต่อการให้หมวดหมู่มีความสะดวกอย่างมากต่อห้องสมุดในการเก็บรักษาและดูแลภายในห้องสมุด เพราะหนังสือแต่ละเล่มมีที่อยู่แน่นอนสะดวกต่อการตรวจตรา
4. ทำให้ทราบว่าหนังสือในแต่ละหมวดหมู่มีจำนวนมากน้อยเพียงใด บรรณารักษ์ของห้องสมุดจะได้เพิ่มจำนวนหนังสือ ในแต่ละหมวดหมู่ให้สมดุลย์กับหมวดหมู่อื่นๆ หรือตาม วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
5. การจัดหมวดหมู่ทำให้การเพิ่มจำนวนหนังสือบนชั้นหนังสือไม่เกิดความยุ่งยากสับสน ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปมา
6. เพื่อสะดวกต่อการให้บริการจ่าย-รับ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว
7. เมื่อมีหนังสือใหม่เข้ามาในห้องสมุด บรรณารักษ์ผู้ทำหน้าที่จัดหมู่หนังสือ สามารถจัดหมู่หนังสือเล่มใหม่ ๆ เหล่านั้นได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยตรวจดูจากเลขหมู่เดิม

 


Send comments to Chumpot@hotmail.com
Copyright © 2008
Revised:May 2008