ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
โครงการห้องสมุดโรงเรียนในฝัน

***ร่วมสร้างองค์ความรู้ สู่การศึกษาตลอดชีวิต วิทยพัฒนาเด็กไทยในท้องถิ่น***


000 หมวดเบ็ดเตล็ด
(Generalities)

100 หมวดปรัชญา
(Philosophy)

200 หมวดศาสนา
(Religion)

300 หมวดสังคมศาสตร์
(Social Sciences)

400 หมวดภาษาศาสตร์
(Language)

500 หมวดวิทยาศาสตร์
(Pure Sciences)

600 หมวดเทคโนโลยี
(Technology)

700 หมวดศิลปะ
(The Arts)

800 หมวดวรรณคดี
(Literature)

900 หมวดประวัติศาสตร์
(Geography & History)


Home

   

ข้อมูลโรงเรียน

โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ)

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) จัดตั้งขึ้นโดยการริเริ่มของกำนันวาสนา ก้านเหลือง ได้รับอนุเคราะห์ที่ดินจาก ส.ต.ต.จำนงค์อุตสาหกิจ ให้เป็นสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา จำนวน ๓ไร่ ๑งาน ๔๔ตารางวา เมื่อวันที่ ๑๘มกราคม ๒๔๘๒และได้ก่อสร้างอาคารไม้ ๑หลัง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ได้โอนเข้ามาเป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมื่อวันที่ ๓ตุลาคม ๒๕๑๘ขณะนั้นมีนางบุญรอด เทพาสิต เป็นครูใหญ่คนแรก และมีคณะครูประกอบด้วยครูชาย ๓คน ครูหญิง ๑๑คน
ปัจจุบัน นางสาวบุษบา กาญจน์วารีทิพย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) มีรองผู้อำนวยการ ๓ คน ข้าราชการครู ๔๖ คน ลูกจ้างตามภารกิจ ๖ คน ครูชาวต่างชาติ ๔ คน นักเรียนระดับปฐมวัย ๒๑๒ คน จำนวน ๖ ห้อง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๖จำนวน ๑,๐๐๙ คน จำนวน ๒๖ ห้อง รวมนักเรียนทั้งสิ้น ๑,๒๒๑ คน มีห้องเรียนทั้งหมด ๓๒ ห้องเรียน

ผู้บริหารโรงเรียนคนปัจจุบัน นางสาวบุษบา กาญจน์วารีทิพย์

สีประจำโรงเรียน สีเขียว - เหลือง

สีเขียว หมายถึงสีประจำวันของโรงเรียน คือ วันพุธ
สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านคุณธรรม

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ดอกไม้ประจำโรงเรียน ดอกแก้ว

ดอกแก้ว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความดี กลิ่นขจรขจายเปรียบเสมือน ชื่อเสียงของโรงเรียน

ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นจามจุรี

ต้นจามจุรี หมายถึง ความร่มเย็น มั่นคง แผ่กิ่งก้านสาขาเหมือนวิชาความรู้ที่เรียนไม่รู้จบ

วิสัยทัศน์

บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มุ่งสู่มาตรฐานสากลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อัตลักษณ์

ผู้เรียนดำเนินชีวิตตามวิถีพุทธ และรักษาสิ่งแวดล้อม

เอกลักษณ์

ใช้ชีวิตพอเพียง สร้างชื่อเสียงด้วยคุณค่าวิชาการ

พันธกิจ

๑.ส่งเสริมให้คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักความเป็นไทยและเข้าใจวัฒนธรรมสากล

๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

๔. พัฒนาผู้เรียนให้มีสุขภาพอนามัยดี

๕. พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ตามเกณฑ์

๖. ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

๗. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม

ผู้แนะนำนางสาวเปรมฤทัย ยางระหงษ์

 


Copyright
All copyright rights in the Dewey Decimal Classification system are owned by OCLC. Dewey, Dewey Decimal Classification, DDC and WebDewey are registered trademarks of OCLC
Revised:September 2010


Send comments to Chumpot@hotmail.com